ชื่อ ระบำกฤดาภินิหาร

ประวัติที่มา

ระบำกฤดาภินิหาร เป็นระบำที่กรมศิลปากรสร้างสรรรค์ขึ้นใหม่ ในราว พ.ศ.๒๔๘๖ ใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง โดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ด้วยต้องการให้มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างไปจากระบำมาตรฐานที่ได้เคยแสดงมาและต้องการให้ทันสมัยเหมาสมกับสถานการณ์ในยุคนั้น

“การปรับปรุงการแสดงตอนนี้ มุ่งหมายให้เป็นละครรำ แต่ให้กระทัดรัดเหมาะสมแก่กาลสมัย จึงต้องปรับปรุงขึ้นทั้งท่ารำ ทำนองร้อง และเพลงดนตรี ดังจะเห็นได้จากท่ารำที่เป็นแบบแผนของนาฏศิลป์ไทยแท้ ๆ ระคนกับการใช้บทอย่างแนบเนียนกระฉับกระเฉง เข้ากับทำนองดนตรี และขับร้องสนิทสนม

ส่วนเพลงร้อง และทำนองดนตรีก็เป็นเพลงไทยโบราณแท้ หากแต่นำมาปะติดปะต่อเข้ากันเป็นชุด เพื่อให้เหมาะสมกลมกลืนกับคำร้องและท่ารำ บทร้อง และทำนองเพลง ท่ารำและเพลงดนตรีในระบำชุดนี้จึงนับเป็นรำบำไทยที่พยายามปรับปรุงตัวเองให้ทันสมัยชุดหนึ่ง”

        การแสดงชุดนี้อยู่ในตอนท้ายเรื่องเกียรติศักดิ์ไทย (กรมศิลปากรได้ประพันธ์เป็นบทละครสร้างจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองกรุงศรีอยุธยา) อันเป็นการร่ายรำของเหล่าเทวดานางฟ้า ที่ได้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองบิ่งใหญ่ของชาติไทย

 จึงเกิดความปิติยินดีชื่นชมโสมนัส ต่างพากันมาอวยชัยให้พร ผู้แต่งบทร้องคือ นางสุดา บุษปฤกษ์ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยมะคุปต์ และนางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูด่วน) ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ด้วยความหมายอันเป็นมงคลของระบำชุดนี้ ต่อมาจึงนำออกแสดงในระบำชุดเอกเทศ มักใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมในการบรรเลง แต่บางโอกาสก็คงใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลงอยู่ การแสดงระบำชุดนี้ยังเป็นที่นิยมแสดงกันอย่างแพร่หลาย

รูปแบบ และลักษณะการแสดง

        ระบำกฤดาภินิหาร มีลักษณะท่ารำเป็นระบำหมู่คู่พระ-นาง เสมือนหนึงว่าเหล่าเทวดา นางฟ้า มาร่วมอวยพรยินดีในเกียรติยศ ชื่อเสียงของประเทศไทย ท่ารำเป็นการตีบทตามคำร้องในเพลงครวญหา (ซึ่งทั้งลักษณะของท่าที่มีความหมายตรงกับคำร้องและท่าที่ความหมายสอดคล้องกับคำร้อง) และท่ารำในเพลงจีนรัว ผู้แสดงถือพานสำหรับโปรยดอกไม้ สามารถแสดงได้สองรูปแบบ คือรำตามบทร้องสี่คำกลอน แล้วตัดไปโปรยดอก ไม้ในเพลงจีนรัว ซึ่งใช้เวลาในการแสดง ๕ นาที และอีกบทหนึ่ง รำเต็มบทร้องหกคำกลอน โปรยดอกไม้ตามบทร้อง และในเพลงจีนรัวซึ่งใช้เวลาในการแสดง ๖ นาที​

X
รับสมัครครูเสาร์อาทิตย์