ฉุยฉายวันทองฉุยฉายวันทอง

เป็นชุดการแสดงรำเดี่ยวตัวนางที่สวยงามอีกชุดหนึ่ง อยู่ในการแสดงละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ กล่าวถึง ความรัก ความผูกพันของผู้เป็นมารดาที่ถ่ายทอดออกมาทางลีลาท่ารำเมื่อแปลงร่างเป็นหญิงสาวงาม เนื้อเรื่องกล่าวถึงนางวันทองที่ตายไปเป็นเปรต สงสารลูกชายที่จะต้องไปออกรบจึงแปลงกายเป็นหญิงสาวแรกรุ่นเพื่อจะห้ามทัพ แต่เมื่อพระไวยเห็นหญิงงามจึงเกิดหลงรักและเข้ามาเกี้ยวพาราสี นางวันทองจึงกลายกลับเป็นร่างเดิมและสารภาพว่าเป็นมารดาของพระไวยเอง

บทร้องบทร้องฉุยฉายวันทอง อยู่ในการแสดงละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกท

 ปี่พาทย์ทำเพลงรัว– ร้องเพลงฉุยฉาย –

ฉุยฉายเอย เจ้าช่างจำแลงแปลงกายงามคล้ายบุษบาหน้าเป็นใยเหมือนไข่ปอก เจ้าทัดแต่ดอกจำปาโอ้พระไวยสายใจ อีกสักเมื่อไรจึงจะมาฉุยฉายเอย เยื้องย่างเจ้าช่างกรายลอยชายมาในดงรู้ว่าพ่อไวยจะไปทัพ แม่มาคอยรับคอยส่งชะกระไรหนอใจบิดา จะแกล้งฆ่าให้ปลดปลง

– ร้องแม่ศรี –

แม่ศรีเอย แม่ศรีสาครร่างเจ้าเอี่ยมอรชร เหมือนกินนรไกรลาศใส่กรอบพักตร์ประดับเพชร บั้นเอวเจ้าจะเด็ดขาดจมื่นไวยจงใจสวาท ด้วยโฉมประหลาดตาเอยแม่ศรีเอย แม่ศรีสาวหงส์เยื้องย่างมากลางดง เหมือนหนึ่งหงส์เหมราชผิวเจ้างามเมื่อยามพิศ งามจริตเมื่อยามผาดอ่อนระทวยนวยนาด เยื้องยาตรมาเอย

– ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว – ลา –

ดนตรีวงปี่พาทย์ไม้แข็งหรือปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย ระนาด ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง และปี่ใน เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงรัว เพลงฉุยฉาย เพลงแม่ศรี เพลงเร็ว และเพลงลาเพลงรัว เป็นเพลงหน้าพาทย์เบื้องต้น ใช้สำหรับการแสดงฤทธิ์หรือการเกิดปรากฏการณ์โดยฉับพลันเพลงฉุยฉาย เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกิริยาของตัวโขนและละครแสดงถึงความภาคภูมิใจในความงามเพลงแม่ศรี เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงกิริยาสนุกสนาน ร่าเริง แสดงอารมณ์และความภาคภูมิใจในความงามเพลงรัว เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงกิริยาการเดินอย่างนวยนาดเพลงลา เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงต่อจากเพลงเร็ว เมื่อจบการรำ การแต่งกายรูปแบบการรำ

๑. ออกด้วยเพลงรัว รำท่าสอดสร้อยมาลา แล้วป้องหน้า๒. บทร้อง รำตีบท ตามคำร้องฉุยฉายและแม่ศรี๓. จบเพลงเร็ว – ลา รำตามทำนองเพลง

เครื่องแต่งกายผู้แสดงแต่งกายนุ่งผ้าจีบหน้านางสีม่วง ตามบทประพันธ์ ชายพกด้านซ้าย ห่มสไบผ้าตาดทองมีชายห้อยทางขวา สวมศิราภรณ์กระบังหน้าการแต่งกายแบบยืนเครื่องตัวนาง ดังนี้

๑. กระบังหน้า อุบะ ดอกไม้ทัด  ๒. เกี้ยว และปิ่นปักผม  ๓สไบผ้าตาดทองลายม่วง

๔. ผ้านุ่ง (สีม่วง) ๕. จี้นาง๖. พาหุรัดหรือกำไลต้นแขน ๗. สะอิ้งหรือสร้อยตัว ๘. เข็มขัด ๙. กำไลข้อมือหรือกำไลแผง ๑๐. กำไลข้อเท้า

รับสมัครครูเสาร์อาทิตย์