Category: ความรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย

ความรู้การตั้งวง

การตั้งวง ตั้งวง เป็นการยกแขนให้ลำแขนโค้ง นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเพียงเล็กน้อย และหักข้อมือไปทางหลังมือเสมอ การตั้งวงมีหลายลักษณะ ดังนี้ วงบนให้ยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ตัวพระให้ปลายนิ้วสูงระดับแง่ศีรษะ ส่วนตัวนางปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว วงบนของตัวพระจะกว้างกว่าตัวนาง​ วงกลาง เป็นการยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่ วงล่าง เป็นการตั้งวงระดับหัวเข็มขัดโดยทอดลำแขนโค้งลงด้านล่าง ตัวพระกันศอกให้เป็นช่องว่างระหว่างแขนกับลำตัว ส่วนตัวนางไม่ต้องกันศอก  แทงมือ […]

Read More

ความรู้นาฏยศัพท์ที่ใช้กับมือ​

นาฏยศัพท์ที่ใช้กับมือ  ได้แก่ จีบ​ จีบ หมายถึง กริยาของมือที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ จรดกับข้อแรกของนิ้วชี้ ( นับจากปลายนิ้ว ) ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย กรีดเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน การจีบมีหลายลักษณะ ดังนี้ จีบคว่ำ  จีบหงายเป็นการหงายมือจีบพร้อมหักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นด้านบน […]

Read More

ความรู้นาฏยศัพท์ (ส่วนเท้า)​

าฏยศัพท์ นาฏยศัพท์หมายถึงศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ เป็นชื่อของลักษณะท่ารำของไทย นาฏยศัพท์ที่ใช้กับเท้า ได้แก่ กระดกเท้า (นั่ง) กระดกเท้า (ยืน) กระดกเท้า (เสี้ยว) กระทุ้งเท้า ก้าวข้าง ก้าวเท้า จรดเท้า ถอนเท้า ประเท้า ยกเท้า ผสมเท้า กระดกเท้า […]

Read More

ประวัติระบำนางกลอย

ประวัติที่มาระบำนางกอย เป็นระบำชุดหนึ่งที่อยู่ในละครเรื่อง“เงาะป่า”บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีเนื้อเรื่องย่อว่า อเนาได้จัดขบวนขันหมากมาสู่ขอนางลำหับ บรรดาเพื่อนของลำหับก็มาช่วยกันจัดเตรียมงานมีสาวเงาะที่จะเข้ามาร่วมพิธีของฮเนากับนางลำหับ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ เพลงช้า ยามชาย พระพายพัดมาระรวยสาวน้อยน้อยพลอยแต่งสวย จะไปช่วยงานวิวาห์นำดอกไม้เต็มฝ่ามือ บ้างทัดบ้างถือยื้อแย่งไปมากลิ่นของใครหอมฟุ้งขจร ขอดมเสียก่อนเถิดหล่อนจ๋าดมดอกกลาดดาษดา น่าเสียดายที่สุดใจเจ้าของดอกไม้ว่าอย่านะ ฉันไม่ละว่าใครใครมาลักชมดมดอกไม้ จะว่าให้ได้อับอายนางเงาะแก่จึงร้องไป ว่าอย่าให้มันมากมายขอเสียเถิดอย่าวุ่นวาย […]

Read More

ระบำกฤษดาอภินิหาร​

ชื่อ ระบำกฤดาภินิหาร ประวัติที่มา ระบำกฤดาภินิหาร เป็นระบำที่กรมศิลปากรสร้างสรรรค์ขึ้นใหม่ ในราว พ.ศ.๒๔๘๖ ใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง โดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ด้วยต้องการให้มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างไปจากระบำมาตรฐานที่ได้เคยแสดงมาและต้องการให้ทันสมัยเหมาสมกับสถานการณ์ในยุคนั้น “การปรับปรุงการแสดงตอนนี้ มุ่งหมายให้เป็นละครรำ แต่ให้กระทัดรัดเหมาะสมแก่กาลสมัย จึงต้องปรับปรุงขึ้นทั้งท่ารำ ทำนองร้อง และเพลงดนตรี ดังจะเห็นได้จากท่ารำที่เป็นแบบแผนของนาฏศิลป์ไทยแท้ ๆ ระคนกับการใช้บทอย่างแนบเนียนกระฉับกระเฉง เข้ากับทำนองดนตรี […]

Read More

ฉุยฉายวันทอง

ฉุยฉายวันทองฉุยฉายวันทอง เป็นชุดการแสดงรำเดี่ยวตัวนางที่สวยงามอีกชุดหนึ่ง อยู่ในการแสดงละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ กล่าวถึง ความรัก ความผูกพันของผู้เป็นมารดาที่ถ่ายทอดออกมาทางลีลาท่ารำเมื่อแปลงร่างเป็นหญิงสาวงาม เนื้อเรื่องกล่าวถึงนางวันทองที่ตายไปเป็นเปรต สงสารลูกชายที่จะต้องไปออกรบจึงแปลงกายเป็นหญิงสาวแรกรุ่นเพื่อจะห้ามทัพ แต่เมื่อพระไวยเห็นหญิงงามจึงเกิดหลงรักและเข้ามาเกี้ยวพาราสี นางวันทองจึงกลายกลับเป็นร่างเดิมและสารภาพว่าเป็นมารดาของพระไวยเอง บทร้องบทร้องฉุยฉายวันทอง อยู่ในการแสดงละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกท  ปี่พาทย์ทำเพลงรัว– ร้องเพลงฉุยฉาย – ฉุยฉายเอย […]

Read More
รับสมัครครูสาขาบางนา