ระบำสุโขทัยชื่อ ระบำสุโขทัยประเภทการแสดง ระบำประวัติที่มา ระบำสุโขทัย เป็นระบำชุดที่ ๕ อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นับเป็นยุคสมัยที่ชนชาติไทย เริ่มสร้างสรรค์ศิลปะด้านนาฏศิลป์ และดนตรีในเป็นสมบัติประจำชาติ โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวไว้ในเอกสาร และหลักศิลาจารึก ประกอบศิลปกรรมอื่น ๆ การแต่งทำนอง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นให้มีลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม ตามแบบอย่างของศิลปะสมัยสุโขทัย
ระบำชุดสุโขทัย จัดแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ และภายหลังได้นำออกแสดง ในโรงละครแห่งชาติ และที่อื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนชม
นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง โดยนำทำนองเพลงเก่าของสุโขทัยมาดัดแปลง
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาจาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นายสนิท ดิษฐพันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย นางชนานันท์ ช่างเรียน สร้างเครื่องแต่งกาย นายชิต แก้วดวงใหญ่ สร้างศิราภรณ์ และเครื่องประดับ
เครื่องดนตรี
ปี่ในซอสามสายกระจับปี่ ๑กระจับปี่ ๒ตะโพนฆ้องวงฉิ่งโหม่งกรับคู่ ๑กรับคู่ ๒ รูปแบบ และลักษณะการแสดง ระบำสุโขทัยเป็นระบำหมู่ ประกอบด้วยผู้แสดง ๕-๗ คน แบ่งเป็นตัวเอง ๑ คน และหมู่ระบำ ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบศิลปะสมัยสุโขทัย ลักษณะท่ารำจะมีทั้งท่ารำของตัวเอก และท่ารำของหมู่ระบำ ที่มีความสอดคล้อง กลมกลืนกัน รวมทั้งการใช้มือ เท้า ศีรษะ จะมีลักษณะพิเศษตามยุคสมัย ตลอดจนการแปรปรวนในการรำด้วยลักษณะต่างๆการรำแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ผู้แสดงตัวเอกรำออกมาตามทำนองเพลงขั้นตอนที่
๒ผู้แสดงหมู่ระบำ รำตามออกมา และมารำร่วมกันจนจบกระบวนท่าขั้นตอนที่
๓ผู้แสดงหมู่ระบำ รำเข้าเวทีขั้นตอนที่
๔ผู้แสดงตัวเอก ทำท่าจบในช่วงท้ายของเพลง แล้วรำเข้าเวทีดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ใช้วงดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่ใน ฆ้องวง ซอสามสาย ประจับปี่ ตะโพน ฉิ่ง โหม่ง และกรับคู่เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงสุโขทัย (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกายของระบำสุโขทัย ประกอบด้วย๑ เสื้อรัดอกสีชมพู๒ กระโปรงยาวกรอมเท้าสีส้ม ติดลูกไม้สีขาวระบายเป็นชั้นๆ๓ ผ้ารัดสะเอวสีดำ ผ้าห้อยข้างสีเขียวอ่อน๔ กรองคอ ต้นแขน ข้อมือ และต่างหู๕ ศีรษะ ตัวเอกใส่ศิราภรณ์มงกุฎอัปสร หมู่รำเกล้าผมเป็นมวยสูง ใส่เกี้ยววงสาวชั้นยอดแหลม โอกาสที่ใช้แสดงถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร และเผยแพร่ให้ประชาชนชม