ความรู้บ้านนาฏศิลป์ไทย

ความรู้บ้านนาฏศิลป์ไทย

ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของนาฏศิลป์ไทย.

การฝึกปฏิบัตินาฏยศัพท์​

กระดกเท้า เป็นกริยาต่อเนื่องจากการกระทุ้งเท้าแล้วยกขึ้น วิธีกระดกเท้า ต้องให้ส่วนของน่องหนีบติดกับท้องขา โดยส่งเข่าไปด้านหลังให้มากที่สุด ปลายนิ้วเท้าชี้ลง  ถัดเท้า เป็นการก้าวเท้าซ้ายด้านหน้า ให้ส้นเท้าขวากระแทกพื้นใกล้ ๆ เท้าซ้ายจากนั้นก้าวเท้าขวา ทำซ้ำไปเรื่อยๆ การก้าวข้าง ตัวพระให้ก้าวเท้าไปด้านข้าง ย่อเข่าลง และกันเข่าออก ทิ้งน้ำหนักลงเท้าข้างที่ก้าว เท้าอีกข้างไม่ต้องเปิดส้น ส่วนตัวนางก้าวเท้าไปด้านข้าง ให้ส้นเท้าที่ก้าวอยู่เหนือเท้าข้างที่ยืนเล็กน้อย […]

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์​

ภาษาท่าแสดงกริยาอาการ​ ท่านั่งตัวนางและตัวพระ ตัวพระ นั่งพับเพียบไปทางขวา แยกเข่าซ้ายออกให้เท้าซ้ายวางหน้าหัวเข่าขวา มือซ้ายเหยียดตึงแบมือตั้งบนเข่าซ้ายมือขวางอแขนแบมือตั้งบนขาขวา ลำตัวตั้งตรง  ตัวนาง นั่งพับเพียบไปทางขวา เชิดปลายนิ้วเท้ามาด้านหน้าเท้าขวาซ้อนบนเท้าซ้าย มือซ้ายแบมือวางบนขาขวาด้านนอก มือขวาแบมือวางถัดมาทางด้านใน งอแขนขวา เอียงขวา ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด     การเปรียบเทียบท่าทางธรรมชาติ กับภาษาท่าของตัวพระและตัวนาง ท่าท่าน เป็นการใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง […]

ภาษาท่าแสดงอารมณ์ความรู้สึก​

ท่าโกรธ เป็นการใช้ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งถูที่ก้านคอใต้ใบหูไปมา แล้วกระชากลง ถ้ากระชากเบาๆก็เพียงเคืองใจ แต่ถ้ากระชากแรงๆพร้อมทั้งกระทีบเท้าลงกับพื้นแสดงว่าโกรธจัด ท่าโศกเศร้า, เสียใจ, ห่วงใย เป็นการประสานลำแขนส่วนล่าง ใช้ฝ่ามือทั้งสองวางทาบระดับหน้าท้องใกล้ๆกระดูกเชิงกราน ท่ารัก เป็นการทำมือทั้งสองตั้งวงไขว้กันระดับอก แล้วหมุนข้อมือทาบลงที่ฐานไหล่ ท่าร้องไห้ เป็นการใช้มือซ้ายแตะที่หน้าผาก มือขวาจีบหงายที่ชายพก ตัวพระมือขวาเท้าสะเอว ก้มหน้าเล็กน้อย พร้อมสะดุ้งตัวขึ้นเหมือนกำลังสะอื้น แล้วจึงใช้นิ้วชี้ซ้ายแตะที่นัยน์ตาทั้งสองข้าง […]

นาฎยศัพท์

นาฎยศัพท์ ​ Published by: Admin ความหมายของนาฏยศัพท์        นาฏยศัพท์หมายถึงศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ เป็นชื่อของลักษณะท่ารำของไทยนาฏยศัพท์ที่ใช้กันเกี่ยวกับท่ารำไทยนั้น มีมาก ถ้าแยกตามลักษณะของการใช้จะแบ่งออกเป็น 3 หมวดคือ1.หมวดนามศัพท์ ได้แก่     1.1 ตั้งวง – วงบน วงล่าง วงหน้า วงกลาง […]

ระบำทวารวดี​

ระบำทวารวดี เป็นระบำชุดที่ ๑ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร)    ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่วิชาประวัตศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทางศึกษาแบบอย่าง และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งการสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิดจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ […]

ระบำสุโขทัย​

ระบำสุโขทัยชื่อ ระบำสุโขทัยประเภทการแสดง ระบำประวัติที่มา ระบำสุโขทัย เป็นระบำชุดที่ ๕ อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ นับเป็นยุคสมัยที่ชนชาติไทย เริ่มสร้างสรรค์ศิลปะด้านนาฏศิลป์ และดนตรีในเป็นสมบัติประจำชาติ โดยอาศัยหลักฐานอ้างอิงที่กล่าวไว้ในเอกสาร และหลักศิลาจารึก ประกอบศิลปกรรมอื่น ๆ การแต่งทำนอง กระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย ประดิษฐ์ขึ้นให้มีลักษณะที่อ่อนช้อยงดงาม […]

ระบำลพบุรี​

ระบำลพบุรีชื่อ ระบำลพบุรีประเภทการแสดง ระบำประวัติที่มา ระบำลพบุรี เป็นระบำชุดที่ ๓ ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) เช่นเดียวกับระบำทวารวดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๙ ประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักฐานจากโบราณวัตถุ และภาพจำหลักตามโบราณสถาน ซึ่งสร้างขึ้นตามแบบศิลปะของขอม ที่อยู่ในประเทศกัมพูชา และประเทศไทย […]

เพลงระบำศรีวิชัย​

เพลงระบำศรีวิชัย​ Published by: Admin เพลงระบำศรีวิชัยชื่อ ระบำศรีวิชัยประเภทการแสดง ระบำประวัติที่มา ระบำศรีวิชัย เป็นระบำชุดที่ ๒ ในระบำโบราณคดี อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๘ มีอาณาเขตตั้งแต่ภาคใต้ลงไปจนถึงดินแดนของประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซียยางส่วนปัจจุบัน ระบำศรีวิชัยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ […]

เซิ้งตังหวาย

เซิ้งตังหวาย Published by: Admin ภาพที่ 1 ฟ้อนรำตังหวาย           “ฟ้อนรำตังหวาย” เป็นหนึ่งในการแสดงพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เดิมตังหวาย เป็นชื่อเมืองหนึ่งในแคว้นสะหวันนะเขต สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชน เป็นชุดการแสดงเมื่อนายประดิษฐ์ แก้วชิณ ได้พบเห็นการแสดงที่อำเภอเขมราฐ […]

กินรีร่อน

ระบำกินรีร่อน  เป็นการแสดงที่อยู่ในละครเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ซึ่งกรมศิลปากรได้เคยจัดแสดงให้แก่ประชาชนชมมาแล้ว คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ของกรมศิลปากร ได้ปรับปรุงและประดิษฐ์ท่ารำให้ประณีตสวยงามและกะทัดรัดเหมาะแก่ผู้ชมซึ่งเป็นทั้งประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศประกอบกับเรื่องมโนราห์เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ การแสดงชุดนี้จึงได้รับความนิยมยกย่องมากในด้านความวิจิตรสวยงามของกระบวนท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกาย  แต่งชุดกินรี ดนตรี  ปี่พาทย์ไม้นวม โอกาสการแสดง  งานมงคล

ความรู้การตั้งวง

การตั้งวง ตั้งวง เป็นการยกแขนให้ลำแขนโค้ง นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ส่วนนิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเพียงเล็กน้อย และหักข้อมือไปทางหลังมือเสมอ การตั้งวงมีหลายลักษณะ ดังนี้ วงบนให้ยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ตัวพระให้ปลายนิ้วสูงระดับแง่ศีรษะ ส่วนตัวนางปลายนิ้วอยู่ระดับหางคิ้ว วงบนของตัวพระจะกว้างกว่าตัวนาง​ วงกลาง เป็นการยกแขนที่ตั้งวงไปด้านข้าง ให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่ วงล่าง เป็นการตั้งวงระดับหัวเข็มขัดโดยทอดลำแขนโค้งลงด้านล่าง ตัวพระกันศอกให้เป็นช่องว่างระหว่างแขนกับลำตัว ส่วนตัวนางไม่ต้องกันศอก  แทงมือ […]

ความรู้นาฏยศัพท์ที่ใช้กับมือ​

นาฏยศัพท์ที่ใช้กับมือ  ได้แก่ จีบ​ จีบ หมายถึง กริยาของมือที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ จรดกับข้อแรกของนิ้วชี้ ( นับจากปลายนิ้ว ) ส่วนนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย กรีดเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน การจีบมีหลายลักษณะ ดังนี้ จีบคว่ำ  จีบหงายเป็นการหงายมือจีบพร้อมหักข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ ชี้ขึ้นด้านบน […]

ความรู้นาฏยศัพท์ (ส่วนเท้า)​

าฏยศัพท์ นาฏยศัพท์หมายถึงศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ เป็นชื่อของลักษณะท่ารำของไทย นาฏยศัพท์ที่ใช้กับเท้า ได้แก่ กระดกเท้า (นั่ง) กระดกเท้า (ยืน) กระดกเท้า (เสี้ยว) กระทุ้งเท้า ก้าวข้าง ก้าวเท้า จรดเท้า ถอนเท้า ประเท้า ยกเท้า ผสมเท้า กระดกเท้า […]

ประวัติระบำนางกลอย

ประวัติที่มาระบำนางกอย เป็นระบำชุดหนึ่งที่อยู่ในละครเรื่อง“เงาะป่า”บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีเนื้อเรื่องย่อว่า อเนาได้จัดขบวนขันหมากมาสู่ขอนางลำหับ บรรดาเพื่อนของลำหับก็มาช่วยกันจัดเตรียมงานมีสาวเงาะที่จะเข้ามาร่วมพิธีของฮเนากับนางลำหับ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ เพลงช้า ยามชาย พระพายพัดมาระรวยสาวน้อยน้อยพลอยแต่งสวย จะไปช่วยงานวิวาห์นำดอกไม้เต็มฝ่ามือ บ้างทัดบ้างถือยื้อแย่งไปมากลิ่นของใครหอมฟุ้งขจร ขอดมเสียก่อนเถิดหล่อนจ๋าดมดอกกลาดดาษดา น่าเสียดายที่สุดใจเจ้าของดอกไม้ว่าอย่านะ ฉันไม่ละว่าใครใครมาลักชมดมดอกไม้ จะว่าให้ได้อับอายนางเงาะแก่จึงร้องไป ว่าอย่าให้มันมากมายขอเสียเถิดอย่าวุ่นวาย […]

ระบำกฤษดาอภินิหาร​

ชื่อ ระบำกฤดาภินิหาร ประวัติที่มา ระบำกฤดาภินิหาร เป็นระบำที่กรมศิลปากรสร้างสรรรค์ขึ้นใหม่ ในราว พ.ศ.๒๔๘๖ ใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง โดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ด้วยต้องการให้มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างไปจากระบำมาตรฐานที่ได้เคยแสดงมาและต้องการให้ทันสมัยเหมาสมกับสถานการณ์ในยุคนั้น “การปรับปรุงการแสดงตอนนี้ มุ่งหมายให้เป็นละครรำ แต่ให้กระทัดรัดเหมาะสมแก่กาลสมัย จึงต้องปรับปรุงขึ้นทั้งท่ารำ ทำนองร้อง และเพลงดนตรี ดังจะเห็นได้จากท่ารำที่เป็นแบบแผนของนาฏศิลป์ไทยแท้ ๆ ระคนกับการใช้บทอย่างแนบเนียนกระฉับกระเฉง เข้ากับทำนองดนตรี […]

ฉุยฉายวันทอง

ฉุยฉายวันทองฉุยฉายวันทอง เป็นชุดการแสดงรำเดี่ยวตัวนางที่สวยงามอีกชุดหนึ่ง อยู่ในการแสดงละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ กล่าวถึง ความรัก ความผูกพันของผู้เป็นมารดาที่ถ่ายทอดออกมาทางลีลาท่ารำเมื่อแปลงร่างเป็นหญิงสาวงาม เนื้อเรื่องกล่าวถึงนางวันทองที่ตายไปเป็นเปรต สงสารลูกชายที่จะต้องไปออกรบจึงแปลงกายเป็นหญิงสาวแรกรุ่นเพื่อจะห้ามทัพ แต่เมื่อพระไวยเห็นหญิงงามจึงเกิดหลงรักและเข้ามาเกี้ยวพาราสี นางวันทองจึงกลายกลับเป็นร่างเดิมและสารภาพว่าเป็นมารดาของพระไวยเอง บทร้องบทร้องฉุยฉายวันทอง อยู่ในการแสดงละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกท  ปี่พาทย์ทำเพลงรัว– ร้องเพลงฉุยฉาย – ฉุยฉายเอย […]

รับสมัครครูเสาร์อาทิตย์